วัตถุประสงค์ของการดำเนินโครงการ SEET คือ “การบูรณาการสิ่งแวดล้อมศึกษาที่มีผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เข้ากับแนวทางการปฏิบัติให้สามารถทำงานร่วมกับชุมชนท้องถิ่นได้” วัตถุประสงค์ต่อมา คือ “การทำให้ครูสามารถจัดทำและอำนวยกระบวนการการบูรณาการสิ่งแวดล้อมศึกษา และจัดกิจกรรมสิ่งแวดล้อมศึกษาร่วมกับชุมชนท้องถิ่นได้” ข้อเสนอโครงการเดิมที่ทางมูลนิธิสถาบันธรรมรัฐฯ ได้นำเสนอไปแล้วนั้น มีความเกี่ยวเนื่องกับผลข้อที่ 6 ในเอกสารโครงการที่ว่าด้วย “การจัดทำและดำเนินการริเริ่มกระบวนการสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนและหน่วยงานต่างๆ ที่มีประสบการณ์ภายใต้กรอบการดำเนินงานของโครงการ”
ในข้อเสนอการริเริ่มกระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษาในภาคใต้ของประเทศไทย (จังหวัดกระบี่) ของมูลนิธิสถาบันธรรมรัฐฯ นั้น ได้เสนอผลที่จะได้รับ 4 ประการด้วยกันได้แก่
1. ดำเนินโครงการให้ความช่วยเหลือด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาแก่จังหวัดกระบี่
2. จัดทำชุดเครื่องมือท้องถิ่น (กระเป๋าเดินทาง) เพื่อการเผยแพร่ในโรงเรียนต่างๆ
3. โครงการร่วมกับทางชุมชน
4. โครงการเผยแพร่ต่างๆ
การทบทวนประสิทธิภาพของโครงการต่าง ๆ เหล่านี้ ทำให้ทราบได้ว่าพื้นที่ใดบ้างที่ยังต้องการการดำเนินการอย่างต่อเนื่องในอีกหนึ่งภาคการศึกษา ซึ่งจะทำให้ผลที่ได้รับมีความเข้มแข็ง เสริมสร้างความมั่นใจของครู กระตุ้นให้เกิดการบูรณาการแนวคิดหลักของโครงการเข้ากับการเรียนการสอนปกติ และในท้ายที่สุดช่วยให้เกิดความยั่งยืนของผลจากโครงการ SEET นอกจากนี้ ยังทำให้ทราบว่าพื้นที่ใดบ้างที่กิจกรรมและผลที่ได้เพิ่มเติมจะสามารถนำมาซึ่งความเข้าใจในแนวคิดหลักอย่างลึกซึ้ง และนำมาซึ่งศักยภาพในการเผยแพร่หลักการของโครงการ SEET ในด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาต่อไปในระยะยาว อนึ่ง ในบางกรณี ความเข้มแข็งของผลที่ได้รับในปัจจุบันอาจก่อให้เกิดความล่าช้าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในการนำมาซึ่งผลสำเร็จท้ายสุดของโครงการ