“ฉลากการรับรอง FSC” ไม่ได้มีความหมายแบบที่คุณคิด


เกิดอะไรขึ้น?

เมื่อคุณเป็นคนนึกถึงแวดล้อมก่อนที่คุณจะซื้ออะไรก็ตาม ดังนั้นเวลาไปยังร้านค้าต่าง ๆ คุณจึงให้ความสำคัญเป็นพิเศษในการเลือกจับจ่ายซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีฉลากความยั่งยืนกำกับเท่านั้น แต่ในบางกรณีฉลากเหล่านี้ก็ไม่ได้บ่งบอกเสมอไปว่าสินค้าชนิดนั้นไม่ได้เชื่อมโยงกับการตัดไม้ทำลายป่าและการละเมิดสิทธิมนุษยชน


กีตาร์ที่มีฉลากกำกับว่าไม้ที่นำมาใช้ไม่ได้มาจากการทำลายล้างป่าไม้ © Greenpeace / Robert Meyers

ในรายงานการทำลายล้างที่ผ่านการรับรองFSCของกรีนพีซสากล เราพบฉลากการรับรอง FSC ในผลิตภัณฑ์มากมายได้แก่ โกโก้ กาแฟ เชื้อเพลิงชีวภาพ น้ำมันปาล์ม ถั่วเหลือง และไม้ ฉลากที่คุณอาจรู้จักเช่น FSC, PEFC, Rainforest Alliance Certified, NSF Sustainability Certified, Green Tick และอื่น ๆ เราเปรียบเทียบ “การรับรอง” เหล่านี้กับความเป็นจริงว่าบริษัทที่ใช่ฉลากกำกับเหล่านี้ช่วยแก้ปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า ความเสื่อมโทรมของป่า การเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศ การละเมิดสิทธินุษยชน รวมถึงการละเมิดสิทธิของชนพื้นเมืองและสิทธิแรงงานได้อย่างไร

ผลการสำรวจพบว่าใบรับรองที่มีอยู่เป็นจำนวนมากในปัจจุบันช่วยให้ธุรกิจทำลายล้างเหล่านี้ยังคงดำเนินต่อไปได้เรื่อยๆ

ทำไมเรื่องนี้จึงสำคัญ?

ถึงไม้ว่าได้มีการรับรองบริษัทต่างๆเพิ่มขึ้นทั่วโลกในช่วงสิบปีที่ผ่านมา การตัดไม้ทำลายป่าและการทำลายระบบนิเวศยังคงดำเนินต่อไป


ตอไม้ในป่าพรุที่เพิ่งผ่านการตรวจสอบภายในสัมปทานไม้เยื่อ จังหวัดกาลิมันตันเหนือ ประเทศอินโดนีเซีย © Ulet Ifansasti / Greenpeace

จากอะเมซอน ไปถึงป่าฝนคองโก จนถึงประเทศอินโดนีเซีย ในยุโรปและอเมริกาเหนือ หลายบริษัทยังคงทำลายป่าไม้เพื่อใช้ประโยชน์จากที่ดินดังกล่าว 80% ของการตัดไม้ทำลายป่าทั่วโลกพบว่าเป็นการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อการทำเกษตรกรรม เนื้อสัตว์ นม การปลูกถั่วเหลืองเพื่ออาหารสัตว์ น้ำมันปาล์ม กระดาษ และโกโก้ ผลักดันให้เกิดการถางป่าเพื่อทำเกษตรกรรมมากขึ้นเรื่อย ๆ พวกเรายังคงต้องการบริโภคผลิตภัณฑ์เหล่านี้ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม และคุณต้องทราบว่าสินค้าที่คุณซื้อมาผ่านการรับรองนั้นมีที่มาอย่างยั่งยืนจริง ๆ

การรับรองผลิตภัณฑ์ของตนว่า “ยั่งยืน” บริษัทต่าง ๆ จะเพิ่มความต้องการและอันตรายที่อาจเกิดจากการถลุงเหมืองแร่ ในขณะที่เราคิดว่าเราเลือกถูกแล้วที่จะซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีฉลากรับรองเราอาจกำลังส่งเสริมการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการทำลายล้างอยู่ก็เป็นได้


พื้นที่ปลูกถั่วเหลืองในรัฐบาเฮีย ประเทศบราซิล ฟาร์มแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นในปีพ.ศ.2518 และขยายเพิ่มขึ้นถึง 305,000 เฮกตาร์ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่านิวยอร์กถึงสามเท่า © Victor Moriyama / Greenpeace

การใช้ฉลากรับรองเหล่านั้นทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิด และผลักภาระทั้งหมดมาที่ผู้บริโภคแทน เราไม่ควรเลือกว่าจะต้องปกป้องป่าไม้หรือระวังเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน และภาระไม่ควรอยู่ผู้บริโภคที่ต้องมาอ่านฉลากอย่างละเอียดเพื่อตรวจสอบใจว่าเราไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการฟอกเขียว (การหลอกลวงผู้บริโภคว่าสินค้าเหล่านั้นมาจากกระบวนการผลิตที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน)

เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร?

ราวปีพ.ศ.2543 หลังจากกระแสการตื่นตัวด้านสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภคทั่วทุกมุมโลก หลายบริษัทและรัฐบาลได้ให้คำมั่นที่จะต่อสู้กับการตัดไม้ทำลายป่า พวกเขาเหล่านี้มองว่าหากได้ฉลากรับรอง FSC คือทางออกของปัญหา

“การรับรอง” และการรับรองป่าไม้คืออะไร?

การรับรองเป็นกระบวนการตรวจสอบซึ่งเจ้าของฟาร์ม เจ้าของกิจการประมง รวมถึงป่าไม้สามารถระบุได้ว่าพวกเขาปฏิบัติตามมาตรฐานสังคมหรือสิ่งแวดล้อม และมีสิทธิ์ในการขายผลิตภัณฑ์ของตนตามที่ได้รับการรับรองผลิตภัณฑ์เหล่านั้นมักมีฉลากรับรอง สำหรับผู้ผลิต หรือบริษัทที่ทำการซื้อขาย “สินค้าจากป่าไม้และสินค้าที่มีความเสี่ยงต่อระบบนิเวศ” มักจะพึ่งพาการรับรองเพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ลูกค้า เพื่อต้องการแสดงให้เห็นว่าบริษัทของตนร่วมสายการผลิตของเขาทั้งหมดได้ดำเนินการที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด โดยผ่านกระบวนการการผลิตที่ “ยั่งยืน”


ควันที่เกิดจากฝีมือมนุษย์นำไปสู่การเกิดไฟป่าเพื่อเตรียมที่ดินสำหรับเลี้ยงวัวเชิงอุตสาหกรรมในบราซิล © Greenpeace / Daniel Beltrá

แล้วเราควรหยุดซื้อสินค้าที่มีการรับรองหรือไม่?

คำตอบคือไม่ รูปแบบการรับรองบางอย่างมีผลในเชิงบวกในท้องถิ่น บางครั้งฉลากเช่น Forest Stewardship Council (FSC) สามารถช่วยเป็นทางเลือกในการบริโภคได้ เช่นเดียวกับอาหารออร์แกนิก (ซึ่งอยู่นอกขอบเขตของรายงานนี้และเป็นตัวอย่างของฉลากที่มีการควบคุมและมีความน่าเชื่อถืออื่น ๆ อีกมากมาย) แต่ไม่ว่ารูปแบบการรับรองแบบไหน การตรวจสอบรายละเอียดของฉลากนั้นเป็นเรื่องยากเมื่อเราต้องการซื้อของจากชั้นวาง

เราสามารถทำอะไรได้บ้าง?

เราสามารถผลักดันให้รัฐบาลรวมถึงผู้ประกอบการตระหนักถึงปัญหาที่เกิดจากการทำลายสิ่งแวดล้อมและการละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือการเรียกร้องให้มีการติดฉลากที่นอกเหนือจากการรับรองเช่น ฉลากบนผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ หรือการเช็คที่มาของอาหารของคุณ

รัฐบาลของประเทศที่ผู้ผลิตตั้งถิ่นฐานบริษัทของพวกเขาอยู่ต้องกล้า และเข้มงวดที่จะออกกฎหมายควบคุมบริษัทต่าง ๆ เพื่อปกป้องระบบนิเวศและป่าไม้ของประเทศตนเอง อีกทั้งควรมีนโยบายให้ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบที่มาของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ว่าเชื่อมโยงกับการทำลายล้างป่าไม้ ระบบนิเวศ หรือมีการละเมิดสิทธิ์หรือไม่ ส่วนสำคัญคือรัฐบาลควรเลิกรอเวลาให้ผู้ผลิต บริษัทหรือห้างร้านต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหานี้โดยสมัครใจ

บริษัทต้องยกมาตรฐานของพวกเขาในเรื่องการใส่ใจสิ่งแวดล้อมเพื่อให้แน่ใจว่าสายการผลิตของพวกเขาไม่ได้มีส่วนในการทำลายป่าไม้

กฎหมายที่เข้มงวดมากขึ้นและความพยายามในการลดการบริโภคผลิตภัณฑ์บางชนิดเป็นสิ่งสำคัญหากเราต้องการแก้ไขปัญหาวิกฤติสภาพภูมิอากาศ ความหลากหลายทางชีวภาพและวิกฤตความไม่เท่าเทียมกันและสร้างสังคมที่มีสุขภาพดีขึ้น

แกรนท์ โรโซแมน ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านป่าไม้ กรีนพีซสากล

ที่มา : Greenpeace Thailand 19 มีนาคม 2021
โดย : แกรนท์ โรโซแมน

สงวนลิขสิทธิ์ © 1995-2015 สถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม (ธ.พ.ส.ส.).
8/16 ถ.กรุงเกษม แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กทม. 10200
โทรศัพท์ 0 2280 1812 , 0 2280 6228 , 0 2280 0557 , 0 2628 6438
โทรสาร 0 2282 8877
e-mail: gseiorth@gmail.com