5 ข้อต้องรู้! หากโลกร้อนขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส


เป็นระยะเวลากว่า 3 ปีแล้วที่รัฐบาลจากหลากหลายประเทศเข้าร่วมประชุมที่จัดขึ้นที่ปารีสเพื่อลงความเห็นว่าไม่เพียงแค่วางแผนจัดการกับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแต่ยังจะต้องพยายามรักษาอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกไม่ให้เพิ่มมากไปกว่า 1.5 องศาเซลเซียสเมื่อเทียบกับระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม จากเป้าหมาย 2 องศาเซลเซียสที่เคยวางไว้

และเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ.2561 คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) ได้จัดทำรายงานพิเศษเกี่ยวกับเป้าหมายการคงอุณภูมิเฉลี่ยผิวโลกไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส โดยมีรายละเอียดชี้แจงว่า ทำไม 1.5 องศาเซลเซียส จึงดีกว่า 2 องศาเซลเซียส



1.พื้นที่เขตร้อนของโลกกำลังร้อนขึ้น

หากโลกร้อนขึ้น 2 องศาเซลเซียส เราจะประสบกับคลื่นความร้อน (ที่ร้อนจนฆ่าพวกเราได้) ยกตัวอย่างเช่นในช่วงฤดูร้อนของหลายๆประเทศที่อยู่ในเขตร้อน ประเทศเหล่านี้เดิมเป็นประเทศที่ร้อนอยู่แล้ว แต่ถ้าอุณภูมิเพิ่มขึ้นอีก 2 องศาเซลเซียส เราจะอาศัยอยู่ในประเทศเขตร้อนไม่ได้เลย และเมื่อถึงเวลานั้นประชากรกว่า 420 ล้านคนจะเผชิญกับคลื่นความร้อน

หลากหลายทวีปทั่วโลกเช่น แอฟฟริกา ตะวันออกกลาง มีอุณภูมิสูงอยู่แล้ว ดังนั้น การลดอุณหภูมิจากที่ตั้งไว้ลงอีก 0.5 องศาเซลเซียสคือเรื่องใหญ่ ที่ 1.5 องศาเซลเซียส คืออุณหภูมิปัจจุบันที่โลกร้อนขึ้นจากอดีต และจะทำให้แอฟฟริกามีคลื่นความร้อนเกิดขึ้นเป็นสองเท่าภายในศตวรรษนี้ ซึ่งมีโอกาสจะเกิดคลื่นความร้อนมากกว่า 2 เท่า ถ้าอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกร้อนขึ้น 2 องศาเซลเซียส

2.ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น


ภูเขาน้ำแข็งของสฟาล์บาร์ในอาร์กติกแยกตัวออกมาจากเกาะ Nordaustlandet ภูเขามีรอยเว้าแหว่งจากการกัดเซาะของน้ำทะเล ภูเขาน้ำแข็งเหล่านี้กำลังละลายกลายเป็นน้ำทะเล

ทวีปอาร์กติกกำลังร้อนขึ้นเป็นสองเท่าเมื่อเทียบกับส่วนที่เหลือของโลก พร้อมกับการบันทึกระดับน้ำทะเลจากน้ำแข็งเป็นประจำในหลายๆปีที่ผ่านมา ถ้าโลกร้อนขึ้นอีก 2 องศาเซลเซียส ก็มีโอกาสที่น้ำแข็งในอาร์กติกจะละลายลงภายใน 10 ปี แต่ถ้าโลกร้อนขึ้นในระดับ 1.5 องศาเซลเซียส เราจะยืดระยะเวลาที่น้ำแข็งในอาร์กติกจะละลายหายไปทั้งหมดจาก 10 ปี เป็น 1 ศตวรรษ

แม้ว่าการคงอุณหภูมิไม่ให้เกินกว่า 1.5 องศาเซลเซียส แต่ประชากรกว่า46ล้านคนมีความเสี่ยงที่จะประสบกับอุทกภัย

 

3.เชื้อโรคร้ายที่ถูกฝังอยู่ในน้ำแข็งจะกลับมา

ในชั้นดินเยือกแข็งขั้วโลกมีเชื้อโรคหลายชนิดที่ถูกแช่แข็งอยู่ และเชื้อโรคใหม่ๆจะระบาดหากดินเยือกแข็งนี้ละลาย ในงานวิจัยล่าสุดแนะนำว่า อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น 2 องศาเซลเซียสสามารถทำให้เกิดโรคระบาดกว่าครึ่งโลก


ดินเยือกแข็งในเขตทุนดรากำลังละลายเนื่องจากอุณหภูมิที่สูงขึ้นจากผลกระทบของภาวะโลกร้อน ในขณะที่ดินเยือกแข็งในเขตประเทศรัสเซียก็กำลังละลายเช่นกัน

แต่เราชะลอภัยพิบัติจากโรคระบาดที่เกิดจากภาวะโลกร้อนนี้ได้เพราะตัวเลข 1.5 จะช่วยรักษาดินเยือกแข็งขั้วโลก (permafrost) ไม่ให้ละลายเร็วไปกว่านี้

4.ปะการังจะถูกทำลายหากอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 2 องศาเซลเซียส

เมื่อโลกของเราอุ่นขึ้น ความร้อนจะทำอันตรายต่อปะการังที่เป็นระบบนิเวศของสัตว์ทะเลในโลก แม้ว่า การคงอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส คาดว่าจะทำลายปะการังไปถึง 9ใน10 ของทั้งหมด แต่หากไม่คงไว้ที่อุณหภูมินี้ ปะการังส่วนที่เหลืออยู่จะถูกทำลายไปด้วย

5.สัตว์นานาชนิดและพืชพันธุ์เริ่มสูญพันธุ์


อะเมซอนมีความหลากหลายทางชีวภาพ เช่น ฝูงโลมานี้ถูกถ่ายได้ในแนวปะการังของอะเมซอน

ถ้าอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกเพิ่มขึ้นอีก 2 องศาเซลเซียส ก็จะทำให้พืชร้อยละ 25 ใน 80,000 ชนิดและสัตว์อีกหลากหลายสายพันธุ์ในพื้นที่อันอุดมสมบูรณ์ของโลก ยกตัวอย่างเช่น อะเมซอน หรือ เกาะกาลาปากอส เริ่มสูญพันธุ์

เราต้องหยุดการใช้ ถ่านหิน น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ เพื่อรักษาสมดุลของอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกไว้


โรงไฟฟ้าถ่านหินขนาด 3,000 เมกะวัตต์ในอินเดีย

รายงานพิเศษของ IPCC แนะนำว่า เพื่อการชะลอผลกระทบที่น่ากลัวจากภาวะโลกร้อนเราจำเป็นต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยในอีก 10 ปีข้างหน้า ทั่วโลกต้องลดการใช้ถ่านหินอย่างน้อย 2 ใน 3 ของการใช้ทั้งหมดภายในปี พ.ศ. 2573 และยุติการใช้ถ่านหินภายในปี พ.ศ.2593 นอกจากนี้เราจะต้องลดละเลิกการใช้น้ำมันและก๊าซธรรมชาติอีกด้วย ซึ่งกรีนพีซได้ศึกษาวิจัยร่วมกับสถาบัน CoalSwarm สำหรับวิธีการในการลดการใช้พลังงานจากถ่านหินและพบว่าอัตราดังกล่าวมีความเป็นไปได้ที่เราจะรักษาอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกไว้ได้

แน่นอนว่าIPCC ยังแนะนำเกี่ยวกับทางออกว่าถ้าเราลดใช้ถ่านหิน น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ เราจะใช้อะไร?


ฟาร์มพลังงานลม ในจังหวัดกีมารัส ฟิลิปปินส์

แม้ว่าเรายังมีอัตราการใช้พลังงานจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนอยู่ไม่มากนัก แต่รายงานดังกล่าวได้แนะนำเกี่ยวกับพลังงานหมุนเวียนว่าแม้ปัจจุบันเรายังใช้ศักยภาพของพลังงานหมุนเวียนไม่เต็มที่ แต่เมื่อคาดการณ์จากช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา พลังงานหมุนเวียนมีแนวโน้มเติบโตอย่างรวดเร็ว ซึ่งในอนาคตจะมีแนวโน้มการใช้พลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้นอีกแน่นอน

และการนำพลังงานหมุนเวียนไปใช้ในสัดส่วนที่สูงจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงจากเดิมถึง 1 ใน 3 และเป็นคำตอบสำคัญที่จะชะลอวิกฤตจากภาวะโลกร้อนนี้

 บทความนี้แปลและเรียบเรียงจาก unearthed.greenpeace.org สามารถอ่านต้นฉบับได้ที่นี่

ที่มา :  Blogpost โดย Supang Chatuchinda แปลและเรียบเรียง -- ตุลาคม 26, 2561 ที่ 12:00

สงวนลิขสิทธิ์ © 1995-2015 สถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม (ธ.พ.ส.ส.).
8/16 ถ.กรุงเกษม แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กทม. 10200
โทรศัพท์ 0 2280 1812 , 0 2280 6228 , 0 2280 0557 , 0 2628 6438
โทรสาร 0 2282 8877
e-mail: gseiorth@gmail.com