ถึงเวลาที่เราควรพูดเรื่องวิกฤตโลกร้อน


หากการเตือนของนักวิทยาศาสตร์ระดับโลกเรื่องวิกฤตโลกร้อนยังไม่เพียงพอ เหตุการณ์หรือหายนะภัยที่เกิดขึ้นที่ญี่ปุ่น ยุโรป และแคลิฟอร์เนียร์อาจจะช่วยทำให้คุณเชื่อว่าพวกเรากำลังประสบกับปัญหาแล้วจริง ๆ

การเผชิญหน้ากับความเป็นจริงของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอาจจะเป็นคำปลอบที่ไร้ประโยชน์สำหรับคนที่ต้องสูญเสียคนที่รักจากเหตุการณ์หายนะภัยจากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างสุดขีด แต่พวกเราต้องการทำให้คนได้ตระหนักถึงการทำอะไรบางอย่างเพื่อที่จะปกป้องชุมชนของเราจากหายนะภัยที่จะเกิดขึ้นในอนาคต


นักดับเพลิงขณะจัดการกับอุปกรณ์ดับเพลิงในการเหตุการณ์ไฟป่าที่เมืองเมนโดซิโน รัฐแคลิฟอร์เนียร์ ผู้คนหลายพันคนต้องอพยพออกจากพื้นที่หลังจากเพลิงได้ทำลายบ้านเรือนและทรัพย์สิน © NOAH BERGER/AFP/Getty Images

การยอมรับว่าหายนะภัยที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสุดขั้วอาจจะทำให้พวกเราเริ่มกระตือรือร้นที่จะทำอะไรสักอย่าง

หลายชุมชน หลายเมืองทั่วโลกกำลังเรียกร้องให้การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น พวกเขาปฎิเสธที่จะต้องทนทุกข์ ปฏิเสธกับวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และปฏิเสธการก่อมลพิษทางอากาศจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลอันแสนสกปรก พวกเขาเรียกร้องให้ผู้นำ นักการเมืองจัดการกับปัญหานี้ นอกจากนี้พวกเขายังหาความยุติธรรมให้กับชุมชนที่ประสบหายนะภัยจากผู้ก่อมลพิษรายใหญ่

เป็นเวลากว่า 30 ปี ที่นักการเมืองได้ถกเถียงและไม่เห็นด้วยกับจุดเชื่อมโยงของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิล แต่ในความเป็นจริงแล้วสถานการณ์หายนะภัยอยู่เพียงแค่เอื้อมมือเท่านั้น

ในปีที่แล้วอุณหภูมิโลกโดยเฉลี่ยสูงกว่าช่วงก่อนยุคอุตสหกรรมที่ 1.1 องศาเซลเซียส นอกจากนี้ยังเป็นปีที่ร้อนที่สุดที่บันทึกมาตั้งแต่ปี 2553 พูดได้ว่าตอนนี้เราไม่ได้อยู่ห่างจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่เท้าเราได้ก้าวเข้าไปข้างหนึ่งแล้ว และนี่คือเรื่องจริง

แคลิฟอร์เนีย รัฐที่ไฟป่าเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ได้ประสบกับภัยแล้งติดต่อกันยาวนานถึง 5 ปี ตั้งแต่ปี 2555 - 2559 ภัยแล้งที่เกิดขึ้นประกอบกับความร้อนจากฤดูร้อนทำให้พืชที่ปลูกในแคลิฟอร์เนียเกิดเหี่ยวแห้ง รัฐแคลิฟอร์เนียต่อสู้กับไฟป่ามาอย่างยาวนาน ไฟป่าคาร์ (Carr fire) ที่เกิดขึ้นตอนนี้กำลังลุกไหม้เป็นบริเวณกว้างของพื้นที่รกร้าง นี่แสดงให้เห็นถึงผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ยุโรปเองก็ประสบหายนะภัยจากความร้อนเช่นเดียวกัน ผู้คนในกรีซกำลังร่ำไห้ให้กับผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์วางเพลิงที่ก่อให้เกิดเปลวเพลิงขนาดใหญ่ ขณะที่เปลวไฟกำลังลุกไหม้ทำลายป่าขนาดใหญ่ที่อยู่ทางเหนือของสวีเดนและอยู่ทางตะวันตกของสหพันธ์รัสเซียตะวันออกไกล

อุณหภูมิที่สูงขึ้นและคลื่นความร้อนบริเวณซีกโลกเหนือถูกกล่าวว่าเป็นสาเหตุหลักของหายนะภัยที่เกิดขึ้น คลื่นความร้อนที่เกิดขึ้นและที่กำลังเกิดอาจจะทำให้ปีนี้กลายเป็นปีที่ร้อนที่สุดเท่าที่เคยบันทึกมา

คลื่นความร้อนที่อยู่นานขึ้นเกิดจากกระแสลมที่พัดจากตะวันตกไปตะวันออกที่เรียกว่า เจ็ทสตรีม ซึ่งอยู่บริเวณซีกโลกเหนือมานานกว่าปกติถึง 2 เดือน  

ขณะที่งานวิจัยเกี่ยวกับการไหลเวียนของกระแสลมและการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระแสลมและอากาศของโลกดำเนินไป หนึ่งสิ่งที่มั่นใจและไม่ต้องสงสัยเลยคือการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั่วโลกที่กำลังทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นและเพิ่มความเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสุดขั้ว

เมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ญี่ปุ่นเป็นอีกหนึ่งประเทศที่ประสบกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสุดขั้ว มีมากกว่า 200 คนที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์น้ำท่วม ตามมาด้วยพายุไต้ฝุ่นจองดาริ ทั้งสามหายนะภัยนี้เกิดขึ้นภายในเดือนเดียว

แม้ว่าหายนะภัยที่เกิดขึ้นเกิดในสถานที่แตกต่างกันแต่ทุกที่ล้วนจบด้วยโศกนาฏกรรมที่น่าเศร้า ไม่ว่าจะเป็นเด็กวัย 6 ขวบที่เสียชีวิตจากคลื่นความร้อน คู่แฝดวัย 9 ขวบที่เสียชีวิตจากไฟป่าในกรีซ หรือนักดับเพลิงวัย 81 ที่เสียชีวิตจากการต่อสู้กับไฟป่า นี่เป็นแค่ส่วนหนึ่งของเหยื่อที่เกิดจากการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากน้ำมือมนุษย์

ในขณะที่สถานการณ์แตกต่างกัน หลักฐานที่ใช้บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนั้นเหมือนกัน ถึงเวลาที่เราควรเริ่มตระหนักและใส่ใจกับปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นต่อโลกใบนี้

ความจริงอันโหดร้ายคือเรายังห่างไกลจากการบรรลุเป้าหมายของความตกลงปารีสและกำลังทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นไปแตะที่ 3 องศาเซลเซียส (หรือมากกว่านี้) บางพื้นที่ต้นไม้เก่าแก่ที่สุดในโลกกำลังจะตาย และหิ้งน้ำแข็งในแอนตาร์กติกละลายเร็วขึ้น

ในเดือนตุลาคมนี้ คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) ของสหประชาชาติจะเปิดตัวรายงานว่าเราสามารถจะทำอย่างไรได้บ้างที่จะทำให้อุณหภูมิโลกเราไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส ใจความของการประชุมนี้คือ ไม่มีความร้อนในระดับไหนที่ปลอดภัย แต่เราสามารถลดความเสี่ยงได้

จริงอยู่ที่เรายังคงมีเวลา แต่เวลาที่เรามีจะต้องเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนในการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานจากเชื้อเพลิงถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซ มาเป็นพลังงานที่เป็นมิตรต่อโลกใบนี้ การเปลี่ยนแปลงที่เต็มรูปแบบที่จะช่วยเราปกป้องมหาสมุทรและป่าไม้

ในขณะที่เราต้องหยุดต้นตอของหายนะภัยและไว้ทุกข์ให้กับเหยื่อที่ต้องทนทุกข์และเศร้าโศกจากการสูญเสียคนที่รัก ผู้ที่สูญเสียชีวิตความเป็นอยู่ และผู้ที่สูญเสียที่อยู่อาศัย เราก็ต้องทำหน้าที่ในการปกป้องผู้อื่น พวกเราต้องบอกนักการเมือง ผู้กำหนดนโยบายว่าถึงเวลาแล้วที่ต้องลงมือทำ

บทความแปลจากต้นฉบับภาษาอังกฤษ สามารถบทความฉบับเต็มได้ที่นี่

ที่มา : Blogpost โดย Bunny McDiarmid -- สิงหาคม 12, 2561 ที่ 18:00

สงวนลิขสิทธิ์ © 1995-2015 สถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม (ธ.พ.ส.ส.).
8/16 ถ.กรุงเกษม แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กทม. 10200
โทรศัพท์ 0 2280 1812 , 0 2280 6228 , 0 2280 0557 , 0 2628 6438
โทรสาร 0 2282 8877
e-mail: gseiorth@gmail.com