ความโปร่งใสคือประชามติที่ชอบธรรม


หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ คอลัมน์ตรวจการบ้าน หน้า 3 ฉบับวันที่ 30 ก.ค.59

“...เสียง โหวต “รับ” แปลออกมาได้สองทางคือ เห็นด้วยกับรัฐธรรมนูญและคสช. อีกส่วนแปลได้ว่าเขาอยากพ้นไปจากช่วงนี้ อยากไปสู่การเลือกตั้ง ขณะที่เสียงโหวต “ไม่รับ” ก็แปลได้ทั้งสองทาง คือ ไม่เห็นด้วยกับรัฐธรรมนูญ และ ขบวนการที่คสช.กำหนดขึ้น หรือ “ไม่รับ”เพราะอยากให้ คสช. อยู่ต่อ...”

ความโปร่งใสคือประชามติที่ชอบธรรม

การออกแถลงการณ์ 2 ครั้งถึงรัฐบาลของเครือข่ายประชาสังคมในนาม“กลุ่มพลเมืองผู้ห่วงใย”ที่ขอให้ เปิดเวทีและเปิดเผยทางเลือกหากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่าน เป็นกระแสที่สังคมกำลังจับตามองอยู่ในขณะนี้ “ทีมการเมืองเดลินิวส์”ได้รับ เกียรติจาก ดร.บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ ผอ.สถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม  และอดีตกรรมาธิการ (กมธ.)ยกร่างรัฐธรรมนูญ  มาบอกถึงที่มาของกลุ่มฯและมองสถานการณ์ก่อน – หลัง วันที่ 7 ส.ค.นี้  

ดร.บัณฑูร บอก ว่า...จุดเริ่มต้นของกลุ่มฯมาจากบรรยากาศในการทำประชามติช่วงต้นๆ ที่อึมครึมมากกว่านี้ กติกาของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ยังไม่ออกมา  ท่าทีของฝ่ายความมั่นคงค่อนข้างที่จะปิด ภายใต้ความเป็นห่วงร่วมกันเวลาไปทำกิจกรรมต่างๆเราก็จะเจอ “คนที่มีความ ห่วงใย”ต่อสถานการณ์เช่นนี้ ก็เลยเป็นที่มาของการออกคำแถลงการณ์ ฉบับที่ 1 เมื่อวันที่ 25 เม.ย. 59 และก็ติดตามดูปรากฏว่ายังมีข้อติดขัดในเรื่องข้อมูลเพื่อการตัดสินใจที่ยัง ไม่ครบถ้วน ทั้งในแง่ของการเข้าถึงเนื้อตัวรัฐธรรมนูญที่ยังแจกไปไม่ถึงเจ้าบ้านของผู้ มีสิทธิลงประชามติ  รวมถึงข้อมูลในการตัดสินใจว่า ถ้ารัฐธรรมนูญไม่ ผ่านกระบวนการหลังจากนั้นจะเกิดอะไร จึงเป็นที่มาของคำแถลงการณ์ ฉบับที่ 2 ซึ่งเนื้อหาคำแถลงการณ์ทั้ง 2 ฉบับ คือในเชิงกระบวนการว่าเราจะมีจุดร่วมกันในการทำให้กระบวนการทำประชามติเป็น ไปตามมาตรฐานที่ควรเป็น เพื่อให้ผลเป็นที่ยอมรับ ทำให้ผลนำไปสู่การก้าวเดินต่อของสังคม ส่วนการตัดสินใจเป็นอิสระของบุคคล ขององค์กร

หาก จะย้อนกลับไปต้องบอกว่าจุดเริ่มต้นของ 117 คน จริงๆก็ทำงานร่วมกันมาตั้งแต่ก่อนปฏิวัติ วันที่ 22 พ.ค. 57 ภายใต้เครือข่ายการทำงานด้านสังคม เครือข่ายเดินหน้าปฏิรูป ก็มีบทบาทการทำงานในงานเพื่อสังคม การผลักดันกระบวนการปฏิรูป ทำให้ที่มาจากหลากหลายมุมที่ต้องการเห็นจุดร่วมทางสังคม ซึ่งเราอยากจะเห็น ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ขยับไปจากจุดที่มองแต่ละฝ่ายว่าเป็น “คู่ขัด แย้ง”ที่ไม่สามารถทำงาน หรือมีจุดร่วมอะไรบางอย่างในสังคมได้และเราอยากจะทดลองพิสูจน์ดูว่าสังคมไทย ยังสามารถที่จะหาจุดร่วมในบางเรื่องที่เป็นเรื่องที่มีความสำคัญต่อบ้าน เมือง โดยที่ไม่เอาเรื่องสีทางการเมืองมาเป็นตัวปิดกั้นหรือไม่

@ มองความเคลื่อไหวของทั้งฝ่ายรับ-ไม่รับ ณ เวลานี้อย่างไร

ขณะนี้ผลสำรวจระบุ ว่ายังคนที่ยังไม่ตัดสินใจอยู่กว่า ร้อยละ 60 ดังนั้นทั้ง 2 ฝ่ายจะต้องดึงเสียงของคนกลุ่มนี้ให้ได้ ตรงนี้ยังไม่รวมถึงกรณีที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับเต็มที่ยังส่งไม่ถึงแต่ละบ้าน ถ้ายังเป็นแบบนี้ผมคิดว่าผลที่ออกมาเสียงก็จะสูสี  แต่อีกสถานการณ์ที่น่า เป็นห่วงคือถ้า “กลุ่มคนที่ยังไม่ตัดสินใจ” ยังไม่มีข้อมูลที่เพียงพอที่เขา มั่นใจว่าจะไปตัดสินใจทางใดทางหนึ่งก็อาจจะตัดสินใจที่จะไม่เดินออกไปใช้ สิทธิ ตรงนั้นก็เป็นสถานการณ์ที่น่าจะต้องคิดอย่างหนักทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องทุก ฝ่ายว่าทำอย่างไรถึงจะแก้ปัญหาตรงนี้

ทั้งนี้เสียง โหวต “รับ” สามารถแปลออกมาได้สองทาง โดยจะบอกได้ว่า “รับ”เพราะเห็นด้วยกับรัฐธรรมนูญ เห็นด้วยกับ คสช. ขณะเดียวกันเสียงที่ “รับ”อีกส่วนหนึ่งก็แปลความได้ว่า เขาอยากพ้นไปจากช่วงนี้ อยากไปสู่การเลือกตั้ง  เช่นเดียวกับเสียงโหวต “ไม่รับ” ก็แปลได้ทั้งสองทาง ด้วย คือ “ไม่รับ”เพราะว่าไม่เห็นด้วยกับรัฐธรรมนูญ  ไม่เห็นด้วยกับการร่างรัฐ ธรรมนูญที่มาจากขบวนการที่คสช.เป็นผู้กำหนดขึ้นอย่างจำกัด หรือ “ไม่รับ”เพราะอยากให้ คสช. อยู่ต่อ

เราจะเห็นความแตก ต่างชัดเจนในการแปลความ และเป็นเหตุผลทางการเมืองที่แปลความได้ในทางตรงกันข้ามกัน  โดยเฉพาะเสียงที่สูสีกันมีความหมายอย่างไรทั้งฝ่ายที่รับและไม่รับ ซึ่งสามารถแปลความได้ทุกมุม ซึ่งตรงนี้น่าเป็นห่วง ถ้าเสียงออกมาสูสีมากและมีคนออกมาใช้สิทธิน้อย

“ข้อเสนอในวันนี้ คือจะต้องทำให้ผู้ที่ยังไม่ตัดสินใจมีข้อมูลอย่างครบถ้วนทั้ง 2 ด้าน และถ้าไม่รับกระบวนการที่จะเดินต่อหลังจากนั้นจะเป็นอย่างไร เพราะถ้าเสียงคนไปใช้สิทธิน้อย แล้วเสียงออกมาสูสี ผลของการลงประชามติที่จะนำไปอ้างเพื่อใช้เดินหน้าต่อก็ จะมีปัญหาพอสมควร”

@ทิศทางการเมืองหลังวันที่ 7 ส.ค.จะเป็นแบบใด

ในช่วงโค้งสุดท้าย ผมอยากเห็นเวที โดยเฉพาะสถาบันวิชาการ สถาบันการศึกษามาร่วมกันนำเสนอข้อวิเคราะห์เหล่านี้ต่อสังคม เพื่อให้เห็นว่าสิ่งที่เราจะต้องเดินกันต่อหลังวันที่ 7 ส.ค. ว่ากรณี“ผ่าน- ไม่ผ่าน” โจทย์หรือการบ้านของประเทศไทยคืออะไร  ถ้าผ่านกระบวนการที่จะเดินกันต่อแบบที่ทำให้ทั้งเกิดการเลือกตั้งตามโร ดแม็พที่เราถูกนานาชาติจับจ้องมองอยู่จะทำอย่างไร  รวมถึงถ้าไม่ผ่านเราจะมีกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญที่จะให้ได้มาเป็นเนื้อหา รัฐธรรมนูญที่คนส่วนใหญ่เห็นพ้องร่วมกัน ไม่ใช่กลายเป็นฉบับที่ตกไปอีกเป็น “ฉบับที่ 3”ตรงนี้จะทำอย่างไร

กรณี “ผ่าน”ยังพูด กันน้อยมาก เช่น เนื้อหาของกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญจำนวน 10 ฉบับจะมีเนื้อหาอย่างไรจะตอบโจทย์ความต้องการของสังคมหรือไม่ รวมไปกฎหมายที่จะต้องตราออกมาเพื่อให้รัฐธรรมนูญเกิดความสมบูรณ์ เช่น  .กฎหมายว่าด้วยกระบวนการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ กฎหมายกำหนดแผนและขั้นตอนการปฏิรูป  ซึ่งมีความสำคัญที่จะทำให้ประเทศชาติเดินหน้าต่อและเป็นการมองอนาคตระยะยาว เช่น ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนปฏิรูปที่จะต้องเห็นผลภายใน 5ปี  ซึ่งรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งครั้งแรกจะเป็นรัฐบาลที่มีภารกิจสำคัญ ที่จะทำให้ประเทศเดินไปในช่วงเปลี่ยนผ่าน ควรจะมีรูปแบบที่ทำให้เกิดความเชื่อมั่นว่าจะเป็นรัฐบาลที่รับภารกิจกับ เรื่องนี้ได้ และไม่เป็นปัจจัยนำไปสู่ความขัดแย้งในรอบใหม่ ในระดับที่รุนแรงเป็นอย่างไร ดังนั้นตัวรูปแบบรัฐบาลก็มีความสำคัญก่อนที่จะไปถึงการเลือกตั้ง

@ถ้าประชามติไม่ผ่าน ทางเลือกที่เหมาะสมคืออะไร

ต้องเริ่มจากการมี ข้อมูลจากทั้ง 2 ฝ่ายว่าที่ “โหวตไม่ผ่าน”นั้น คนที่ตัดสินใจเหตุผลเพราะอะไร เช่นเดียวกันก็ต้องไม่ทิ้งความเห็น เหตุผลการตัดสินใจของคนที่ไป “โหวตผ่าน”ว่าที่โหวตให้ผ่านแต่เสียงไม่พอเขา มีเหตุผลอย่างไร ทั้ง 2 ส่วนเป็นเหตุผลสำคัญที่จะนำมาออกแบบการร่างรัฐธรรมนูญในกระบวนการต่อไป  เพราะถ้าไม่ผ่านเท่ากับว่า 2 ฉบับแล้วที่กระบวนการที่ทำในแบบจำกัดเป็นตัวพิสูจน์ว่าสังคมไม่ยอมรับ  จึงเป็นส่วนที่น่าจะเห็นชัดว่าครั้งที่ 3 น่าจะต้องทำให้เปิดกว้าง สังคมร่วมกันคิด ผมเชื่อว่าทางเลือกนี้สังคมไทยร่วมกันคิดได้เยอะ  โดยหลักแล้วคือควรจะเอาโร ดแม็พที่กำหนดเรื่องการเลือกตั้งเป็นตัวตั้ง

ส่วนตัวอย่างทาง เลือกของการจะร่างขึ้นใหม่คือแก้รัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 นำไปสู่การเลือกตั้ง เขียนเพิ่มเติมเกี่ยวกับเลือกตั้งเพื่อให้การเลือกตั้งสามารถเกิดขึ้นได้ตาม โรดแม็พ และเมื่อมีรัฐบาลจากการเลือกตั้งมาออกแบบกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ ภายใต้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งร่วมกันตรงนี้ก็เป็นแนวทางหนึ่งที่เริ่ม พูดกันว่าสามารถทำได้  ซึ่งในกรณีนี้ก็ต้องมาทำการบ้านกันในตอนต้นว่าการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นใน ระยะอันใกล้จากการแก้รัฐธรรมนูญ(ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 ควรจะเป็นแบบไหน  ซึ่งผมคิดว่าไม่ใช่เรื่องยากเกินความสามารถที่รัฐบาล และฝ่ายต่างๆ จะมาหาข้อยุติร่วมกันได้

ส่วนจุดหลักสำคัญ ที่อยากจะเน้นย้ำคือจะต้องให้สังคมฝ่ายต่างๆร่วมกันเสนอแนะแนวทางร่างกัน ใหม่ได้อย่างสร้างสรรค์ สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมตั้งแต่ต้น โดยเริ่มตั้งแต่โจทย์ที่ว่าเราจะร่างใหม่กันได้อย่างไร ตรงนั้นจะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้เราจะได้รัฐธรรมนูญฉบับ 20/3 ที่ผ่านและได้รับฉันทามติจากเสียงส่วนใหญ่ในสังคม

@ ถ้า คสช.-รัฐบาล ยังยึดรูปแบบเดิมในการร่างฉบับ 20/3

มีความน่าเป็นห่วง อย่างยิ่ง ถ้าจะใช้แนวทางเลือกแบบนั้น  เพราะว่าเสียงของสังคมที่สะท้อนออกมาแล้วทำให้ประชามติไม่ผ่าน ก็เป็นข้อพึงพิจารณาว่ากระบวนการร่างแบบแนวที่ คสช.ใช้มาทั้ง 2แบบ ทำให้ได้ผลผลิตเป็นร่างรัฐธรรมนูญที่ประชาชนไม่ยอมรับก็ควรจะนำไปสู่การ เปลี่ยนแปลง  ถ้ายังเดินตามแนวทางเดิมก็น่าเป็นห่วงต่อปัจจัยเสี่ยงต่อการ ยอมรับกับการที่จะทำให้เกิดชนวนความขัดแย้ง ซึ่งไม่ควรไปเติมเชื้อความเสี่ยง ต่อการสร้างความขัดแย้งรอบใหม่

@ในฐานะเป็น อดีต กมธ.ยกร่างฯมองบรรยากาศช่วงนี้คล้ายๆกับก่อนที่จะถูกคว่ำร่างฯหรือไม่

ความ คล้ายกันที่มีคือแรงกดดัน ที่ถาโถมไปอยู่กับผู้ร่างรัฐธรรมนูญ ส่วนที่ต่างกันคือผู้ที่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจจะกว้างกว่าสภาปฏิรูปแห่ง ชาติ (สปช.) 250 คน แต่ตอนนี้เป็นเรื่องของคน 50 ล้านคนที่มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง และที่น่าสังเกตคือยังมีความเหมือนกันในเรื่องของ “ความไม่แน่นอนของผลการ ตัดสินใจ” สังคมการเมืองไทยจุดพลิกผันเกิดขึ้นได้ตลอดและมักจะมีปัจจัยที่ทำ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ชั่วข้ามคืน ซึ่งก็จะมีความรู้สึกคล้ายกัน ตอนยุค ฉบับ 20/1 ของอ.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ก็มีแนวโน้มมาในแบบหนึ่งแล้วก็มาพลิกผันในช่วง3-4วันสุดท้ายที่เปลี่ยนแปลง

ส่วน กรณีฉบับ 20/2 น่าจับตามองว่าความไม่แน่นอนที่จะเกิดขึ้นในช่วง3-4วันสุดท้ายว่าจะมีปัจจัย อะไรที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันเกิดขึ้นได้หรือไม่.

สิริกันยา

สงวนลิขสิทธิ์ © 1995-2015 สถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม (ธ.พ.ส.ส.).
8/16 ถ.กรุงเกษม แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กทม. 10200
โทรศัพท์ 0 2280 1812 , 0 2280 6228 , 0 2280 0557 , 0 2628 6438
โทรสาร 0 2282 8877
e-mail: gseiorth@gmail.com