3 สิ่งสำคัญที่โตโยต้าและอุตสาหกรรมรถยนต์ควรทำเพื่อแก้วิกฤตสภาพภูมิอากาศทันที


บริษัทผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ของโลกล้มเหลวต่อการปกป้องสภาพภูมิอากาศโลก โดยหนึ่งในบริษัทที่น่าผิดหวังที่สุดคือโตโยต้า มีข้อมูลจากรายงานล่าสุดกรีนพีซเอเชียตะวันออกเปิดเผยว่า บริษัทผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ 10 แห่งซึ่งครอบคลุมตลาดถึง 80% ไม่ได้ทำหน้าที่ของตัวเองเท่าที่ควรเพื่อแก้ไขวิกฤตสภาพภูมิอากาศ

เราจัดอันดับบริษัทเหล่านี้จากเกณฑ์อะไร?

เราใช้เกณฑ์ 3 ประการเพื่อประเมินคะแนน

1. ความคืบหน้าในการเลิกใช้รถยนต์เชื้อเพลิงสันดาปภายใน

80% ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนของอุตสาหกรรมรถยนต์เกิดขึ้นขณะรถยนต์ถูกขับบนถนน ฉะนั้นสิ่งที่อุตสาหกรรมรถยนต์ควรทำคือเลิกผลิตรถยนต์เชื้อเพลิงสันดาปภายในเมื่อมองในภาพรวมแล้ว บริษัทผู้ผลิตรถยนต์มีแผนเลิกใช้รถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลภายในปี 2578 แต่ 5 ใน 10 บริษัทยักษ์ใหญ่คือ Nissan Renault Stellantis Toyota Volkswagen ไม่ได้มีกำหนดวันสิ้นสุดการผลิตรถเชื้อเพลิงสันดาปภายในเหล่านี้

2. ความคืบหน้าในการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chains)

20% ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของรถมาจากกระบวนการผลิต เช่น การผลิตชิ้นส่วนเหล็ก (ซึ่งปล่อยมลพิษจำนวนมาก) พลาสติก และวัสดุอื่น ๆ อีกมากมายเช่น โคบอลท์ที่ใช้ทำแบตเตอรี่มีเพียง 2 บริษัทเท่านั้นที่มีรายละเอียดการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และเป้าที่จะช่วยให้อุณหภูมิเฉลี่ยพื้นผิวโลกสูงขึ้นไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส

3. ความคืบหน้าในการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน 

รถยนต์ไฟฟ้า และเครื่องจักรที่ใช้ทรัพยากรและก่อให้เกิดมลพิษสูง ผู้ผลิตจำเป็นที่จะให้ความสำคัญกับการนำแบตเตอรี่มาใช้ซ้ำ การกู้คืนโลหะที่ใช้ในแบตเตอรี่ และพัฒนาเทคโนโลยีแบตเตอรี่ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อให้ใช้ทรัพยากรน้อยลงตั้งแต่แรก

อย่างไรก็ตาม ไม่มีบริษัทผู้ผลิตใดที่ลงทุนในกระบวนการนำกลับมาใช้ใหม่และรีไซเคิลมากพอ มีเพียงแค่ 1 บริษัทที่มีเป้าหมายที่ชัดเจนในประเด็นนี้

โตโยต้านำโด่งในแง่ลบ

ในปี 2563 โตโยต้าเป็นบริษัทผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่มียอดขายรถยนต์กว่า 9 ล้านคันทั่วโลก 1 ใน 10 ของรถยนต์ที่ถูกขายทั่วโลกคือโตโยต้า ซึ่งมีอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั่วโลกกว่า 5.68 ล้านเมตริกตัน ซึ่งการจะดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมหาศาลนี้ได้นั้นจะต้องใช้พื้นที่ป่ามากถึง 40,000 เอเคอร์!

บริษัทโตโยต้าที่ควรจะเป็นผู้นำในการปกป้องสภาพภูมิอากาศ แม้ว่าพวกเขาจะมีความพร้อมแต่กลับได้รับคะแนนแย่ที่สุดในการศึกษานี้

โตโยต้าไม่มีความมุ่งมั่นต่อการเลิกผลิตรถยนต์เชื้อเพลิงสันดาปภายใน

โตโยต้ายังคงขายรถยนต์ประเภทนี้ต่อไปในสัดส่วนที่เยอะมากเมื่อเทียบกับรถยนต์ไฟฟ้า และรถยนต์ไฮบริดในปี 2563

ขจัดก๊าซคาร์บอนในห่วงโซ่อุปทาน

โตโยต้าไม่ได้เข้าร่วมโครงการ Science Based Targets initiative ซึ่งเป็นโครงการที่ต้องการให้บริษัทต่างๆลดการปล่อยมลพิษตามหลักวิทยาศาสตร์ แม้ว่าโตโยต้าได้ให้คำมั่นสัญญาว่าจะเป็นกลางทางคาร์บอนให้ได้ภายในปี 2593 แต่พวกเขาไม่มีแผนการลดคาร์บอนที่ตรวจสอบได้ และไม่ได้มีแนวทางที่ชัดเจนเพื่อบรรลุเป้าหมายนี้

การใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน

แม้ว่าโตโยต้ามีความพยายามจะรีไซเคิลและนำแบตเตอรี่กลับมาใช้ใหม่ แต่เนื่องด้วยบริษัทเองมีสัดส่วนการขายรถยนต์ไฟฟ้าค่อนข้างน้อย ดังนั้นการนำแบตเตอรี่จากรถยนต์ไฟฟ้ากลับมาใช้ใหม่จึงเแทบไม่มีนัยอะไรเลย

โตโยต้าถูกจับได้ว่าเจรจาต่อรองกับรัฐบาลประเทศต่างๆเพื่อลดกฎหมายว่าด้วยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและมลพิษเพื่อยุติการใช้รถยนต์เชื้อเพลิงสันดาปภายใน

สิ่งที่บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ควรทำทันที

สิ่งที่อุตสาหกรรมควรทำมีอยู่หลักๆ 3 ข้อเพื่อให้รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

1. เลิกใช้รถยนต์เชื้อเพลิงสันดาปภายในทุกรุ่น (รวมถึงไฮบริดด้วย!)

อุตสาหกรรมรถยนต์ควรเป็นกลางทางคาร์บอนให้ได้ภายในปี 2593 เพื่อปกป้องสภาพภูมิอากาศ และทางเดียวที่จะทำได้คือต้องหยุดผลิตและเลิกขายรถยนต์เชื้อเพลิงสันดาปภายใน 

เป็นเรื่องสำคัญที่บริษัทผู้ผลิตรถยนต์เป็นผู้นำในการผลิตยานยนต์ เพราะไม่เพียงแค่พวกเขาต้องรับผิดชอบต่อรถยนต์ใหม่ๆที่ถูกผลิตมากว่า 10 ล้านคันและถูกขายออกไปทุกปี แต่ท่าทีของพวกเขาจะเป็นสัญญาณอันทรงพลังที่จะช่วยให้อุตสาหกรรมทั้งหมดลดการปล่อยคาร์บอน งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าตอนนี้ทางเลือกอื่นๆนอกจากรถยนต์เชื้อเพลิงสันดาปภายใน อาทิ รถยนต์พลังงานไฟฟ้า รถยนต์ไฮบริด ก็ยังต้องอาศัยเชื้อเพลิงฟอสซิลอยู่ดี

2.ส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนที่สะอาด ลด ใช้ซ้ำ และรีไซเคิลแบตเตอรี่

การเปลี่ยนผ่านจากรถยนต์เชื้อเพลิงสันดาปภายในไปเป็นรถยนต์ไฟฟ้า วิธีที่แบตเตอรี่ถูกออกแบบ ผลิต และใช้ นั้นไม่เพียงแต่เป็นหัวใจหลักในการบรรลุเป้าหมายด้านสภาพอากาศที่สำคัญเท่านั้น แต่ยังช่วยยับยั้งปัญหามลพิษและวิกฤตทรัพยากรระดับโลก

บริษัทต้องรับผิดชอบเพื่อใช้แบตเตอรี่เพื่อการอื่น (เช่น งานวิจัยจากกรีนพีซเอเชียตะวันออกเปิดเผยว่าการนำลิเธียมแบตเตอรี่จากรถยนต์ไฟฟ้าไปใช้ทำอย่างอื่นด้วยจะทำให้สามารถเก็บพลังงานทั่วโลกได้ภายในปี 2573 แบตเตอรี่ใช้ซ้ำเหล่านี้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีกครั้งเพื่อประหยัดแร่ธาตุที่สำคัญ

ทั้งนี้ ควรลงทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนาไปกับเทคโนโลยีแบตเตอรี่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมขึ้นเพื่อเพิ่มอายุขัยการใช้งาน และทำให้พลังงานสะอาดขึ้น ขณะเดียวกันผู้ผลิตแบตเตอรี่เองก็ควรพัฒนาให้ใช้วัสดุที่สามารถรีไซเคิลได้ 100%

3. เปลี่ยนโมเดลธุรกิจให้เกิดการแชร์รถมากขึ้น ขายรถยนต์น้อยลง

ถึงแม้ว่ารถยนต์เชื้อเพลิงสันดาปภายในจะหมดไป แต่โมเดลรถยนต์ส่วนตัวไม่ยั่งยืนในระยะยาว ท้ายที่สุดการใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากเกินไป ก็กลายเป็นแหล่งการปล่อยคาร์บอนแห่งใหม่ได้ เราต้องลดจำนวนรถยนต์ส่วนตัว โดยพัฒนาให้ระบบขนส่งสาธารณะดีขึ้น เพื่อเพิ่มทางเลือกสำหรับการการเดินทางร่วมกัน และออกแบบเมืองให้ง่ายต่อการเดินและใช้จักรยานในการเดินทาง

ที่มา :  Greenpeace Thailand 28 พฤษจิกายน 2564

สงวนลิขสิทธิ์ © 1995-2015 สถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม (ธ.พ.ส.ส.).
8/16 ถ.กรุงเกษม แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กทม. 10200
โทรศัพท์ 0 2280 1812 , 0 2280 6228 , 0 2280 0557 , 0 2628 6438
โทรสาร 0 2282 8877
e-mail: gseiorth@gmail.com