ข้อมูลจากรายงานคุณภาพอากาศโลกระบุ ปี 2563 คุณภาพอากาศเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่


ผลวิจัยชี้ชัดว่าพฤติกรรมของมนุษย์เป็นปัจจัยสำคัญต่อมลพิษทางอากาศ

กอลดัค, สวิตเซอร์แลนด์, 16มีนาคม 2564 –ข้อมูลคุณภาพอากาศโลกชุดใหม่จาก IQAir และแผนที่คุณภาพอากาศของโลกระบุว่า ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้เกิดการล็อกดาวน์และทำให้พฤติกรรมของมนุษย์ทั่วโลกเปลี่ยนไปส่งผลต่อระดับมลพิษ PM 2.5

ข้อค้นพบโดยสรุป

  • ผลกระทบจากโควิด-19 : ในปี 2563 คุณภาพอากาศในประเทศทั่วโลกที่มีสถานีตรวจวัด พบว่า ร้อยละ 84 มีคุณภาพที่ดีขึ้นเนื่องจากมาตรการชะลอการแพร่ระบาดของโควิด-19
  • เมื่อเปรียบเทียบปี 2563 กับ 2562 มีเมืองใหญ่ที่คุณภาพอากาศดีขึ้น ได้แก่ สิงคโปร์ (PM 2.5 ลดลงร้อยละ 38) อู่ฮั่น (PM 2.5 ลดลงร้อยละ18) โซล (PM 2.5 ลดลงร้อยละ 16) และเดลี (PM 2.5 ลดลงร้อยละ 15)
  • มีเมือง 24 แห่งทั่วโลกที่มีระดับคุณภาพอากาศ PM2.5 อยู่ในเกณฑ์ที่ องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดไว้ในปี 2563 จากเมืองทั่วโลกที่มีสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศทั้งหมด 106 แห่ง
  • วิกฤตสภาพภูมิอากาศยังคงส่งผลกระทบต่อคุณภาพอากาศ ในปี 2563 และปี 2559 เป็นปีที่ถูกบันทึกว่าเป็นสองปีที่มีอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกสูงที่สุด ทั้งวิกฤตไฟป่าและพายุทรายที่เกิดขึ้นเพราะสภาพภูมิอากาศที่อุ่นขึ้น สาเหตุนี้จึงทำให้เกิดมลพิษทางอากาศในระดับที่สูง ในแคลิฟอเนียร์ อเมริกาใต้ เซอร์เบียร์และออสเตรเลีย
  • อินเดีย : ในปี 2563 จากการสังเกตการณ์คุณภาพอากาศของเมืองในอินเดียทั้งหมดที่มีการตรวจวัดคุณภาพอากาศพบว่า มีคุณภาพอากาศที่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2561 ในขณะที่เมื่อเทียบกับปี 2562 พบว่ามีคุณภาพอากาศดีขึ้นร้อยละ 63 อย่างไรก็ดี อินเดียยังคงเป็นเมืองที่โดดเด่นระดับต้น ๆ ในฐานะที่เป็นเมืองที่มีคุณภาพมลพิษทางอากาศแย่ติดอันดับโลก
  • จีน : ในปี 2563 เมืองในจีนกว่าร้อยละ 83 มีสภาพอากาศที่ดีขึ้นมากกว่าปีก่อน ๆ อย่างไรก็ตาม ประชาชนในจีนยังคงเผชิญกับระดับฝุ่น PM2.5 ที่สูงกว่าเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก (WHO) ถึง 3 เท่า เมืองโฮตัน (Hotan) ในตะวันออกเฉียงเหนือของจีนกลายเป็นเมืองที่มีระดับคุณภาพอากาศที่แย่ที่สุดในโลก ในขณะที่เมืองอื่น ๆในภูมิภาคดังกล่าวก็มีระดับมลพิษทางอากาศสูงเช่นกัน สาเหตุส่วนใหญ่เนื่องจากพายุทราย ที่มีความรุนแรงขึ้นจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศ
  • สหรัฐอเมริกา : ในสหรัฐอเมริกาค่าเฉลี่ยของระดับฝุ่นละอองพุ่งสูงขึ้นร้อยละ 6.7 ในปี 2563 แม้ว่าจะมีมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของ Covid-19 แต่เพราะวิกฤตไฟป่าที่เกิดขึ้นในแคลิฟอเนียร์ รัฐโอเรกอนและวอชิงตัน ทำให้สหรัฐอเมริกามีเมือง 77 เมืองที่ติดอันดับ 100 เมืองที่มีมลพิษทางอากาศสูงที่สุดเมื่อเดือนกันยายน ปี 2563 (วัดจากค่าเฉลี่ย PM2.5 รายเดือน) ซึ่งปี 2563 ที่ผ่านมา เมืองในสหรัฐฯร้อยละ 38 มีระดับคุณภาพอากาศสูงกว่าที่องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดไว้ เป็นสัญญาณที่แย่ลงเนื่องจากในปี 2562 มีเมืองที่มีค่าเฉลี่ยสูงเกินกว่ามาตรฐานเพียงร้อยละ 21 เท่านั้น
  • เอเชียใต้ : เมืองในบังคลาเทศกว่าร้อยละ 67 มีค่าเฉลี่ยมลพิษทางอากาศที่อยู่ในระดับส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ทั้งนี้หลายเมืองในเอเชียใต้ยังติดอันดับใน 50 อันดับเมืองที่มีมลพิษมากที่สุดถึง 42 เมือง
  • ยุโรป: ในปี2563 เมืองในยุโรปกว่าครึ่งมีระดับมลพิษทางอากาศ PM2.5 สูงเกินกว่าที่ค่ามาตรฐานขององค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ โดยเมืองที่มีระดับฝุ่น PM2.5 สูงที่สุดอยู่ในตอนกลางและตอนใต้ของทวีป มีเมืองบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา ทางตอนเหนือของเมืองมาซิโดเนีย และบัลแกเรีย เป็นเมืองที่มีระดับฝุ่นละอองสูงที่สุด
  • บังคลาเทศ จีน อินเดีย และปากีสถาน ติดอันดับ 49 เมืองจาก 50 เมืองทั่วโลกที่มีมลพิษทางอากาศสูงที่สุด
  • ปี 2563 นี้มีสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ14
  • หลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตะวันออกกลาง แอฟริกา เอเชียใต้ และอเมริกาใต้ ยังคงขาดสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศและการรายงานสถานการณ์มลพิษทางอากาศ

“ปี 2563 ที่ผ่านมา เกิดสิ่งที่ไม่คาดคิดในประเด็นมลพิษทางอากาศ ในปี 2564 นี้ เราจะมีโอกาสได้เห็นการเพิ่มขึ้นของมลพิษทางอากาศเนื่องจากกิจกรรมของมนุษย์อีกครั้ง” แฟรงก์ แฮมเมส ผู้บริหารของ IQAir กล่าว “เราหวังว่ารายงานฉบับนี้จะทำให้คนทั่วไปมองเห็นความจำเป็นที่จะต้องแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศอย่างจริงจังและเป็นรูปธรรม มิฉะนั้นมลพิษทางอากาศก็จะกลายเป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพของคนทั่วโลก”

อวินัช จันทร์ชาญ ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านสภาพภูมิอากาศ กรีนพีซอินเดีย กล่าวว่า “ในขณะที่หลาย ๆ เมืองมีสถิติที่ระบุว่าคุณภาพอากาศนั้นดีขึ้นชั่วคราวเนื่องจากสาเหตุการล็อกดาวน์เมือง แต่ผลกระทบต่อสุขภาพเนื่องจากการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินยังคงอยู่ โชคไม่ดีนักที่เมืองเดลียังคงเป็นเมืองใหญ่ที่ได้รับผลกระทบจากมลพิษทางอากาศมากที่สุดในปี 2563 หากมองตามความเป็นจริงแล้ว รัฐบาลควรยกประเด็นการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบพลังงานหมุนเวียนอย่างเช่น พลังงานลมและแสงอาทิตย์ รวมทั้งระบบขนส่งมวลชนโดยไฟฟ้า เพื่อลดอันตรายต่อสุขภาพประชาชนจากมลพิษทางอากาศและลดต้นทุนที่ต้องจ่ายเพื่อดูแลสุขภาพ”

“หลายส่วนทั่วโลกต้องเผชิญกับมลพิษทางอากาศเป็นประวัติการณ์ แต่ปรากฎการณ์การลดลงของมลพิษทางอากาศชั่วคราวในปี 2563 เนื่องจากมาตรการควบคุมโรคระบาดโควิด-19 ทำให้ความต้องการการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลลดลง” ลอรี มิลลิเวียทา หัวฝ่ายการวิเคราะห์จากสถาบันวิจัยด้านพลังงานและอากาศสะอาด (CREA) กล่าว

“คุณภาพอากาศที่ดีขึ้นนี้คือการช่วยป้องกันประชาชนจากการเสียชีวิตจากมลพิษทางอากาศได้หลายพันคน ดังนั้นจำเป็นจะต้องเปลี่ยนผ่านการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นพลังงานหมุนเวียนที่สะอาด ซึ่งจะทำให้คุณภาพอากาศดีขึ้นอย่างยั่งยืน”

เกี่ยวกับ รายงานคุณภาพอากาศโลก

รายงานคุณภาพอากาศโลก ปี 2563 จัดทำขึ้นโดยการรวบรวมข้อมูลมลพิษ PM2.5 จาก 106 เมืองที่มีการวัดคุณภาพอากาศโดยสถานีวัดคุณภาพอากาศภาคพื้น แหล่งข้อมูลที่อยู่ในรายงานฉบับนี้มาจากสถานีวัดคุณภาพอากาศที่ดำเนินงานโดยองค์กรของรัฐบาลร้อยละ 66.6 ข้อมูลส่วนที่เหลือมาจากสถานีวัดที่ดำเนินการโดยชุมชนท้องถิ่น องค์กรไม่แสวงหากำไร และภาคธุรกิจ

เกี่ยวกับ IQAir

IQAir คือบริษัทเทคโนโลยีด้านคุณภาพอากาศ ตั้งอยู่ในสวิสเซอร์แลนด์ เริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2506 เพื่อเสริมสร้างพลังให้กับองค์กรและชุมชนเกี่ยวกับการเข้าถึงอากาศสะอาดผ่านการทำข้อมูลและใช้เทคโนโลยีมาเป็นตัวช่วยในการหาทางออก

ที่มา : Greenpeace Thailand 16 มีนาคม 2021

สงวนลิขสิทธิ์ © 1995-2015 สถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม (ธ.พ.ส.ส.).
8/16 ถ.กรุงเกษม แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กทม. 10200
โทรศัพท์ 0 2280 1812 , 0 2280 6228 , 0 2280 0557 , 0 2628 6438
โทรสาร 0 2282 8877
e-mail: gseiorth@gmail.com